Last updated: 21 ต.ค. 2565 | 4643 จำนวนผู้เข้าชม |
การทำความสะอาดในโรงพยาบาล
เป็นการทำความสะอาดที่ถือว่าเป็นการทำความสะอาดที่สำคัญอย่างยิ่งกว่าการทำความสะอาดใดๆ
เพราะไม่ใช่แต่การทำความสะอาดให้หมดจดเท่านั้น แต่ทำแล้วต้องปราศจากเชื้อโรคด้วย เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหากไม่เช่นนั้นจะเป็นการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยที่เป็นอีกโรคหนึ่ง ไปยังผู้ป่วยอีกคน
สาเหตุ อาจมาจากพนักงานทำความสะอาดที่ขาดทักษะและอุปกรณ์ที่ไม่ถูกต้อง และเพียงพอ จะทำให้ผู้ป่วยแต่ละคนต้องมาต่อสู้กับโรคของตัวเองแล้วยังต้องมาต่อสู้กับโรคอื่นอีก จะทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายอย่างมาก ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่ เกี่ยวข้อง
ข้อแนะนำในการทำความสะอาด
1. จะต้องเลือกอุปกรณ์ ทำความสะอาดที่ดี และเหมาะสม ต้องมีเพียงพอสำหรับเปลี่ยนแต่ละห้อง แต่ละแผนก
2. ต้องมีน้ำยาทำความสะอาดที่ดีเพียงพอ เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อ จำเป็นต้องใช้ตั้งแต่การซัก และการใช้เช็ดถูของทุกพื้นที่ ที่สำคัญคือพื้นที่ติดเชื้อต่างๆ
3 .หากเช็ดหรือถูเปียกจำเป็นต้องมีถังพร้อมหัวบีบน้ำ เพราะถ้าใช้มือบิดหรือซัก จะทำให้ติดเชื้อทั้งพนักงาน แล้วยังเป็นผู้แพร่เชื้ออีกด้วย
4. พนักงานต้องมีถุงมือเสมอเวลาทำความสะอาด ไม่เป็นแผล ต้องป้องกันตนเอง และจะได้ไม่เป็นพาหะนำเชื้อโรคไปแพร่ผู้อื่นในวงกว้าง
5. ต้องมีผ้าม็อบ ผ้าเช็ด มากเพียงพอไว้เปลี่ยนหลังจากเช็ดหรือถูในแต่ละห้อง ไม่ว่าผ้าจะยังดูไม่สกปรก ให้แยกใส่ถุงต่างหาก ผ้าที่ใช้แล้วต้องนำมาซักให้สะอาด พร้อมหยดน้ำยาฆ่าเชื้อในน้ำสุดท้ายของการซักทุกครั้ง แล้วนำมาใส่ถุงแยกใช้ในแต่ละพื้นที่
6. ผ้าควรมีแถบสี เพื่อแยกใช้ในแต่ละพื้นที่ เช่นห้องคนป่วยอีกแถบสี ห้องผ่าตัด ห้องน้ำ ห้องฉุดเฉิน เป็นต้น
โรงพยาบาลหรือคลินิคบางแห่ง จะมองความสำคัญด้านความสะอาดน้อยกว่าอุปกรณ์ด้านการแพทย์ จึงให้งบจัดซื้อด้านนี้น้อยหรือน้อยมาก แท้จริงแล้วมีความสำคัญอย่างมาก ไม่น้อยกว่ากันเลย เพราะอุปกรณ์ทำความสะอาดใช้กับทุกพื้นที่
มีโอกาสช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วหรือช้า สามารถแพร่เชื้อได้อย่างกว้างขวาง พนักงานควรจะได้รับการฝึกและอบรมจากผู้ชำนาญด้านโรงพยาบาลเฉพาะ จะทำให้การทำความสะอาดนั้นได้ ผลและป้องกันได้อย่างแท้จริง
10 พ.ค. 2567
24 พ.ค. 2567
17 พ.ค. 2567
3 พ.ค. 2567